ธัมมะธาตุ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง – บทนำ

บทความ / ตำราวิชาการ :
ทฤษฏีเดียว อธิบาย ทุกสรรพสิ่ง
The Theory explain Everything.

ธัมมะธาตุ 7
ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง
ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์
The 7-Absolute of Everything

 

โดย สู่ดิน ชาวหินฟ้า – igoodmedia.net (2018)
Last edit. 20 February 2018

อ่าน [บทนำ] – [บทที่ 1] – [บทที่ 2] – [บทที่ 3] – [บทที่ 4] – [บทที่ 5] – [บทที่ 6] – [แสดงความคิดเห็น]

บทความนี้ [1] บทความนี้ ทำหน้าที่เชื่อมองค์ความรู้ระหว่าง วิทยาศาสาตร์ (physical sciences) กับพุทธศาสนา โดยอธิบายถึง คุณสมบัติและอาการ ของสรรพสิ่งในจักรวาล ซึ่งมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน และเสื่อมสลายไปสู่แหล่งเดียวกันอย่างไร

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ปัจจัยการเกิด การดำรงอยู่ และการดับสลาย ของสังขารธรรมทั้งหลาย (ปรากฏการณ์ ปรัชญา กาลเวลา สรรพสิ่ง) ซึ่งเป็นต้นกำเนิด ของศาสตร์ทุกแขนง. เพื่อเสนอแนวคิดว่า สิ่งลี้ลับในเอกภพ ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถค้นพบได้นั้น มีอยู่จริง เช่น วัตถุมืด พลังงานมืด (dark matter | dark energy) อนุภาคมูลฐานคู่แฝด หรือ อนุภาคปฏิสสาร (antiparticles) จิตวิญญาณ โดยเทียบกับสิ่งที่ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้. เพื่อศึกษาว่า คุณสมบัติและอาการ ของวัตถุธาตุต่างๆ ตลอดจน สิ่งมีชีวิต เข้ากันได้กับ คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ หรือไม่ อย่างไร.

แม้ว่า วิมุตติ–นิพพาน จะถูกนับเป็นคุณสมบัติ 1 ใน 7 ของธัมมะธาตุทั้งหมดก็ตาม แต่วิมุตติ–นิพพาน เป็นธัมมะธาตุเพียงหนึ่งเดียว ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก ธัมมะธาตุอื่นๆ เกือบจะสิ้นเชิง. ด้วยเหตุที่ ธัมมะธาตุ 7 เป็นทฤษฎีเดียว ที่อธิบายและยืนยันว่า ทุกสรรพสิ่งที่ก่อเกิดจากสิ่งเดียวกัน หรือแหล่งเดียวกัน และถูกหลอมรวมกันเป็นสิ่งเดียวกัน อีกครั้งหนึ่งในที่สุด. หมายความว่า คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ แท้จริงคือ ความเป็นหนึ่งเดียว ของสรรพสิ่ง (oneness).

[1]
บทความนี้ เริ่มเขียน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557  แก้ไขล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2561 เผยแพร่ใน :
http://www.blog.igoodmedia.net/the-7-element.

 บทนำ

สรรพสิ่งในเอกภพ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน
(The Theory explain Everything Life)

คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ เป็นปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง (The 7-Element Absolute of Every thing) ที่ประกอบกันเป็นรูปนาม ตั้งแต่ขนาด อนุภาค อะตอม โมเลกุล เซลล์ วัตถุ สิ่งมีชีวิต ไปจนถึง ดวงดาว ระบบสุริยะ ดาราจักร จักรวาล หรือ เอกภพ (universe).

คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ประกอบด้วย

(1) มวล–อนุภาค (mass–particle) 
(2) แรง–พลังงาน–คลื่น (force–energy–wave) 
(3) มิติ–กาลอวกาศ–รูปทรง (dimension–spacetime–form) 
(4) อุณหภูมิ (temperature) 
(5) วัฏจักร–อนันต์ (cycle–infinity) 
(6) นามรูป–วิญญาณ–สังขาร (mind and matter–consciousness–corporeality) 
(7) วิมุตติ–นิพพาน (integrity liberation | Nibbana).

พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ เรียกเอกภพว่า โลกธาตุ, ทรงแบ่งโลกธาตุ ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม. หมายความว่า สรรพสิ่งในเอกภพ แบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ ระบบสมมุติ ซึ่งก็คือ สังขตธรรม กับ ระบบวิมุตติ เรียกว่า อสังขตธรรม. ระบบสมมุติ จะให้คำนิยามแก่สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น ดำรงอยู่ ดับสลายไป ตามเหตุปัจจัย. ระบบวิมุตติ จะให้คำนิยามคำว่า “นิพพาน” ซึ่งเป็นสิ่งพิเศษเพียงสิ่งเดียว ที่มีในเอกภพ และไม่สามารถนำกฏเกณฑ์ใดๆ ของระบบสมมุติ มาใช้อธิบายได้.

คุณสมบัติและอาการ ที่ไม่หยุดนิ่งของเอกภพ ทำให้เอกภพเสมือนมีชีวิต (visual life), ชีวิตเสมือนของเอกภพ ช่วยให้เกิดมุมมองและเข้าใจ สรรพสิ่ง ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมองเห็นความจริงแท้ ที่มนุษย์ไม่เคยพบ หรือวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้. ชีวิตของสรรพสิ่ง ทุกขนาดในเอกภพ มีสมบัติและอาการพื้นฐานร่วมกัน 3 ประการ คือ (1) มีการเกิด และมีการดับสลาย หรือตาย (2) มีการดำรงอยู่ ในห้วงเวลาหนึ่ง และ มีการเสื่อมปรากฏ ในลำดับถัดมา (3) มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (ไม่มีสิ่งใด หยุดนิ่ง ณ จุดเดียว) โดยมีการขับเคลื่อน การเกิด การตาย การดำรงอยู่ การเสื่อมสลาย ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร.

สสาร วิญญาณ กาลอวกาศ

สรรพสิ่ง (everything) หมายถึง ปรากฏการณ์ของ วัตถุ สสาร อนุภาค คลื่น รังสี แรง พลังงาน กาลอวกาศ ระบบ สิ่งมีชีวิต จิตวิญญาณ และรวมถึงคุณสมบัติและอาการของมัน. สรรพสิ่ง เปรียบเหมือน ประโยคหนึ่ง มีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบหลัก และมีส่วนขยาย เช่น วลี คำอื่นๆ ทำให้ประโยคสมบูรณ์ขึ้น. ประธาน กรรม ก็เหมือนรูปธาตุ นอกนั้น เป็นนามธาตุทั้งหมด. สรรพสิ่ง มีคุณสมบัติและอาการ ร่วมกัน 7 ประการ ซึ่งต่อไปนี้ เรียกว่า ธัมมะธาตุ 7. ธัมมะธาตุ 7 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มมูลฐาน คือ (1) วัตถุสสาร แรง พลังงาน (2) ชีวะ จิตวิญญาณ (3) มิติ กาลอวกาศ. ธัมมะธาตุทั้งสามกลุ่มมูลฐาน จัดอยู่ในระบบสมมุติทั้งสิ้น (พุทธศาสน์ เรียกว่า สังขตธรรม).

สรรพสิ่งที่จัดอยู่ในกลุ่ม วัตถุสสาร แรง พลังงาน คือ ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นวัตถุ จากขนาดเล็กระดับอะตอม (เล็กเกินกว่าความสามารถของเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มองเห็นได้) ไปจนถึงขนาดใหญ่ ระดับจักรวาล (ใหญ่เกินกว่ามิติสัมผัสของมนุษย์ ที่จะรับรู้ได้) ได้แก่ อนุภาคมูลฐาน (particle) ทั้งที่เป็นอนุภาคสสาร หรือ เฟอร์มิออน–fermion (ประกอบด้วย ควาร์ก–quark ชนิดต่างๆ อิเล็กตรอน–electron มิวออน–muon เทา–tau นิวตริโน–neutrino) และ อนุภาคที่เป็นพาหะของแรง หรือ โบซอน–boson (ประกอบด้วย ควาร์ก–quark, นิวเคลียส–nucleus, อิเล็กตรอน–electron). ทั้งหมด จะถูกเหนี่ยวนำด้วยพาหะของแรง รวมตัวกันเป็น อะตอม (atom) ซึ่งเป็นสสารมูลฐาน ของทุกสรรพสิ่งในเอกภพ. โมเลกุล และ เซลล์ ประกอบกันเป็นวัตถุ ธาตุต่างๆ ดวงดาว กาแล็กซี่ และเทห์วัตถุทุกชนิด (planet, asteroid, exoplanet, meteor, solar star, black hole, quasar). วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) จะเป็นผู้อธิบาย สรรพสิ่งที่จัดอยู่ในกลุ่ม วัตถุสสาร แรง พลังงานทั้งหมด.

สรรพสิ่งในกลุ่มนี้ เป็นหนึ่งในห้า ขององค์ธัมมะธาตุ ที่พระตถาคต เรียกว่า ขันธ์-5 (Khandha – The five groups of existence) คือ รูปขันธ์ (corporeality | body). รูปขันธ์ ใช้อธิบาย สิ่งที่เป็นวัตถุสสาร แรง พลังงานด้วย และสิ่งที่เป็นชีวะ จิต วิญญาณด้วย.

สรรพสิ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มชีวะ จิตวิญญาณ แบ่งออกเป็นจุลินทรีย์ พืชและสัตว์ ที่รวมเอา จิต วิญญาณ เข้าไว้ด้วย และรวมถึง เหตุการณ์ (events) สิ่งแวดล้อม (environment) ซึ่งเกี่ยวโยงกับการดำรงอยู่ของชีวิต (Bio–life). สรรพสิ่งในกลุ่มนี้ จัดอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science) ซึ่งจำแนกเรื่องราวต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ และ สาขามนุษยศาสตร์ อธิบายเกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา.

สรรพสิ่งทั้งสองกลุ่มมูลฐานข้างต้น และอื่นๆ ในเอกภพ ทั้งที่ถูกค้นพบแล้ว และยังไม่พบ จัดรวมเข้าอยู่ใน มิติ กาลอวกาศ ซึ่งเปรียบเหมือนปริภูมิของเอกภพ. ปรากฏการณ์ของสรรพสิ่ง ในมิติ กาลอวกาศ มักเป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจ เพราะอยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องใช้ หลักการวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) บางส่วน มาอธิบาย เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ เชื่อมโยงระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมอยู่. ทุกๆ สิ่ง ที่อยู่ภายใน มิติ กาลอวกาศ จะหลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ธัมมะธาตุ หรือ โลกธาตุ ซึ่งแบ่งออกเป็น สังขตธรรม (conditioned things) กับ อสังขตธรรม (unconditioned). สังขตธรรม ยังคงสภาพของ องค์ธัมมะธาตุที่ 1 – 6 ไว้ใน มิติ กาลอวกาศ (คือ ขันธ์-5 ทั้งหมด) ส่วนอสังขตธรรม คือสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่พระตถาคต เรียกว่า นิพพาน.

วิทยาศาสตร์เชื่อว่า เอกภพ ไม่มีขอบเขต และไม่สามารถนับจำนวน สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นเอกภพได้ แม้กระทั่ง รูปร่างลักษณะ ขนาดของเอกภพ ก็ไม่สามารถกำหนด หรือให้ความหมายที่ชัดเจน. วัตถุสสารที่ถูกค้นพบแล้วในเอกภพ มีจำนวนเล็กน้อยไม่ถึง ร้อยละ 5 ของสิ่งที่มีในเอกภพทั้งมวล (ในเอกภพ ที่ค้นพบได้ ประกอบด้วย แก๊ส ร้อยละ 4 และ ดวงดาวต่างๆ อีก ร้อยละ 0.5). วัตถุสสารที่ซ่อนอยู่ในเอกภพ ยังค้นหาไม่พบ และไม่รู้จัก นักวิทยาศาสตร์ เรียกมันว่า พลังงานมืด (dark energy) มีมากถึง ร้อยละ 71.5 และ วัตถุมืด (dark matter) อีกร้อยละ 24 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เอกภพอันกว้างใหญ่ ดำรงอยู่ซ้อนทับกัน หรือ คู่ขนานกัน (multiverse) เรียกว่า เอกภพลูก เอกภพแม่.

กลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง เรียกว่า ดาราจักร หรือ แกแล็กซี (galaxy) ภายในระหว่างดวงดาว เต็มไปด้วย สสาร แก๊ส ฝุ่น และ สสารมืด. ในดาราจักรหนึ่งๆ ยังประกอบไปด้วยระบบดาวหลายดวง กระจุกดาวจำนวนมาก และเมฆระหว่างดาวหลายประเภท. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ในเอกภพที่สังเกตได้ มีดาราจักรอยู่ประมาณ หนึ่งแสนล้านดาราจักร. ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์-ดาราศาสตร์ กำลังได้รับการเปิดเผยตลอดเวลา จากภาพถ่ายดาวเทียมอันทรงพลังและทันสมัย นับสิบดวง และห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์.

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ และเชื่อว่า เอกภพ มีอยู่อย่างไร้ขอบเขต นับประมาณไม่ได้นั้น สอดคล้องกับสิ่งที่ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้. สิ่งลี้ลับอย่างไร้ขอบเขต ที่นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่รู้จักนั้น มีอยู่ในมิติ กาลอวกาศ ที่ไหนสักแห่ง (อาจเป็นสิ่งที่พระตถาคต เรียกว่า ภพภูมิเทวดา พรหม อบาย). รวมถึง หน่วยวัดระยะ วัดขนาด ในระดับเอกภพ (ปีแสง) ก็ยังเทียบไม่ได้กับ สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ (หน่วยเวลา – กัปป์, หน่วยจำนวน – โกฏิ, หน่วยพื้นที่ – จักรวาล หรือ โลกธาตุ).

  • พุทธวจน

อานนท์ ! ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ แผ่รัศมีส่องแสงให้สว่างไปทั่วทิศ กินเนื้อที่ประมาณเท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจำนวนพันหนึ่ง ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ภูเขาสิเนรุพันลูก ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป อุตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทรสี่พัน มหาราชสี่พัน จาตุมมหาราชิกาพันหนึ่ง ดาวดึงส์พันหนึ่ง ยามาพันหนึ่ง ดุสิตพันหนึ่ง นิมมานรดีพันหนึ่ง ปรนิมมิตวสวัตตีพันหนึ่ง พรหมพันหนึ่ง นี้เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุอย่างเล็ก มีพันจักรวาล) สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ มีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คำนวณทวีขึ้นโดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ โลกธาตุอย่างกลาง มีล้านจักรวาล) ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ มีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คำนวณทวีขึ้นโดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ (โลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล)

(ดูใน พุทธวจน เรื่อง ภพภูมิ – อานิสงส์ของผู้มีจิตเลื่อมใสในตถาคต – บาลี ติก. อํ. 20/292/520.)

Big Bang Inflation Diagrams

รูปที่ 01  กรวยเวลา แสดงวงจรชีวิตของเอกภพ (การก่อเกิด การดำรงอยู่ และการดับสลาย) ภาพจาก Cosmic Questions – NATIONAL GEOGRAPHIC (Copyright April 2014 by NATIONAL GEOGRAPHIC Society) Big Bang Inflation Diagrams
form http://meta-gaia.angelfire.com/big_bang_inflation.html

เอกภพ ประกอบด้วย อวกาศและเวลา ที่ไม่อาจแยกจากกันได้ นักฟิสิกค์–ดาราศาสตร์สมัยใหม่ ค้นพบความจริงว่า อวกาศกับเวลา เป็นส่วนผสมที่มีลักษณะ สัมพัทธภาพ ซึ่งกันและกัน. ผู้สังเกตสองคน มองสิ่งที่ถูกสังเกต สิ่งเดียวกัน (สิ่งเดียวกัน มีสมบัติเป็น อวกาศ-เวลา) ย่อมได้รับคำตอบ แตกต่างกัน เพราะเหตุ อวกาศกับเวลา มีความสัมพัทธกัน. ในมุมมองของผู้สังเกต และผู้ถูกสังเกต ขนาด และ ระยะ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ อวกาศและเวลา ของสรรพสิ่ง ไม่สัมบูรณ์ โดยเฉพาะสิ่งที่มีขนาดใหญ่ระดับเอกภพ กับ สิ่งที่มีขนาดเล็กระดับอะตอม.

มนุษย์ ไม่สามารถหยั่งรู้ขอบเขต ของเอกภพที่กว้างใหญ่นั้นได้ และถ้าจะเปรียบเทียบ ขนาดและระยะ ระหว่าง ตัวเรา (me) และ โลกของเรา (earth) กับ เอกภพ (universe) ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย

สรรพสิ่ง บนโลกมนุษย์ใบนี้ เกิดขึ้น และวิวัฒนาการ อย่างเป็นระบบ ทำให้โลกกลายเป็นดาวเคราะห์ ที่เอื้อต่อการมีชีวิต และดำรงอยู่ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ร่วมกับ พฤติการณ์ของสิ่งมีชีวิต. วัตถุสสาร และ สิ่งมีชีวิต มีระบบชีวิตที่หลากหลาย และแตกต่างกัน. ไวรัส จุลินทรีย์ พืช สัตว์ มนุษย์ ก็มีระบบชีวิต หรือ วงจรชีวิตอีกแบบหนึ่ง. ร่างกายตัวตนของมนุษย์ เสมือนโลกใบเล็กๆ ใบหนึ่ง (micro-earth) ที่ดำรงอยู่ และโคจร อยู่บนผิวโลก. มนุษย์แต่ละคน เปรียบเหมือนระบบสุริยะเล็กๆ เรียกว่า ‘ฝุ่นละออง สุริยะ’ ภายในประกอบด้วย ธาตุชนิดต่างๆ (ดาวเคราะห์) จิต วิญญาณ (ดาวฤกษ์) วิ่งวน โคจร อยู่ภายใน. ตราบใด ที่นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เกี่ยวกับ black holes, Big Bang ตลอดจน ขอบเขตและพฤติการณ์ของเอกภพ, การค้นหา วิวัฒนาการของมนุษย์ ความลี้ลับของจิต วิญญาณ การระลึกชาติ และชีวิตหลังความตายของมนุษย์ ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้เช่นกัน.

โลก เป็น อนุภาคฟุ้งฝอย (particle) ที่ลอยวน (stability) อยู่ใน จักรวาล (universe).  โลก เป็น อะตอมหนึ่ง (atom) ในแกแลกซี่ ทางช้างเผือก (Milky-way Galaxy).  โลก เป็น เซลล์หนึ่ง (cell) ของ ระบบสุริยะ (Solar system).  โลก เป็น ที่อยู่อาศัย (home) ของ ระบบชีวิต (Life system). โลก เป็น อาณาจักร ของจิต วิญญาณ.

กลไกชีวิต (Bio-mechanics | Bio-Physiological)

หากนิยามคำว่า ชีวิต ในขอบเขตโลกมนุษย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั่วไป เช่น จุลินทรีย์ พืช สัตว์ มนุษย์ ซึ่งจะให้ความหมายระดับหนึ่ง ไม่สามารถครอบคลุม ในขอบเขตที่มีขนาดเล็ก ระดับอะตอม หรือใหญ่ระดับจักรวาล. ผู้เขียน มีคำอธิบายเกี่ยวกับชีวิต ผ่านกรอบอ้างอิงชีวิต 4 ขนาด (Life system 4 references) [2]  เพื่อให้ครอบคลุม ในทุกขอบเขตของจักรวาล คือ ชีวิตจักรวาล–ควันตัม ชีวิตจักรกล ชีวิตแบบโลก และ ชีวิตระบบขันธ์-5.

[2]
อาจมีการโต้แย้งว่า สิ่งมีชีวิต มีความแตกต่าง กับวัตถุ สสาร ชัดเจนอยู่แล้ว หากนิยาม สิ่งที่ไม่มีชีวิตอื่น ว่ามีชีวิต อาจสร้างความสับสน. ข้อนี้ให้เหตุผลว่า ระบบชีวิตระดับเอกภพ ประกอบด้วย ธาตุ ดวงดาว กาแลกซี่ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวในวงโคจรของตัวเอง เป็นระบบชีวิตในกรอบอ้างอิงขนาดใหญ่ระดับเอกภพ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ในความหมายระดับกรอบอ้างอิงโลก.

ธาตุต่างๆ และพลังงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของชีวิต ทั้งในระดับอะตอม และระดับจักรวาล มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คือ เกิดขึ้น แล้วดับสลาย กลายเป็นธาตุอื่น หรือสิ่งอื่นต่อไป ภายใต้แรงกดดัน และอุณหภูมิ. การเกิดขึ้น และการเปลี่ยนสถานะของธาตุต่างๆ ก็คือระบบชีวิตอย่างหนึ่ง แต่เป็นชีวิตของสสาร. นี่คือกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ สอดคล้องกับ กฎไตรลักษณ์ (สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน) ของพุทธศาสนา. ธาตุต่างๆ มิได้อยู่นิ่ง หรืออยู่อย่างโดดเดี่ยว ต่างอาศัยกันและกัน เป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วนเวียนเป็น วัฏจักร (เกิดขึ้น – พัฒนา ไปสู่ความเสื่อม – ดับสลาย) ตามกฏ อิทัปปัจจยตา [3] (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป).

[3]
อิทัปปัจจยตา คือหลักความเป็นเหตุ เป็นผล (causality) ของธรรมชาติโดยแท้ คือ สองเหตุการณ์ จะมีความสัมพันธ์กัน โดยที่อันนึงเป็น “เหตุ” อีกอันเป็น “ผล” และเกิดขึ้นตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ คือ เหตุ เกิดก่อน ผล.

สิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต” (อาจไม่ใช่ สิ่งมีชีวิต) มีคุณลักษณะพื้นฐาน 3 ข้อ คือ (1) มีการเกิดปรากฏ และ มีการตาย (2) มีการดำรงอยู่ ในห้วงเวลาหนึ่ง และระหว่างนั้น มีการเสื่อมปรากฏ (3) มีตัวขับเคลื่อน (กรรม) ให้มีการเกิด การตาย การดำรงอยู่ การเสื่อมสลาย ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร

ชีวิต ในทุกกรอบอ้างอิง จึงเป็นปรากฏการณ์ที่มี “การเคลื่อนไหว” และผูกติดกับเวลาเสมอ. การเคลื่อนไหวดังกล่าว คือสิ่งที่ พระตถาคต เรียกว่า สังขตลักษณะ 3 ประการ คือ (1) อุปฺปาโท ปัญฺญายติ – มีการเกิดปรากฏ (arising appears), (2) วโย ปัญฺญายติ – มีการเสื่อมปรากฏ (passing away), (3) ฐิตสฺส อัญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ – เมื่อตั้งอยู่ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (มีความแปรปรวน) (changeability appears). การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้ระบบชีวิต ในแต่ละกรอบอ้างอิง มี “ตัวขับเคลื่อน” แตกต่างกัน กรอบอ้างอิงชีวิต 4 ขนาด ได้แก่,

(1) ชีวิตจักรวาล–ควันตัม (Extra–terrestrial life system) เป็นระบบชีวิต ที่อยู่เหนือการสัมผัส และการรับรู้ของมนุษย์ ในเรื่องของ ขนาด ระยะ และทิศทาง ได้แก่ ระบบชีวิตของ เอกภพ-กาแล็กซี-สุริยะ และระบบชีวิตของ อะตอม-อนุภาค ทั้งสองระบบนั้นมี แรงโน้มถ่วง ควันตัม และนิวเคลียส เป็นตัวขับเคลื่อน.

เอกภพ มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ในความหมาย ของกรอบอ้างอิงขนาดใหญ่ เอกภพ จัดเป็น สังขารธรรม [4] อย่างหนึ่ง ที่มีชีวิต. วงจรชีวิตจักรวาล ยาวนานที่สุด เมื่อเทียบกับระบบชีวิตในกรอบอ้างอิงอื่นๆ ได้แก่ ดวงดาว ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ กาแลคซี่ หลุมดำ ควอซาร์ พัลซาร์ ในขณะที่วงจรชีวิตของบางอนุภาค สั้นมาก เช่น วงจรชีวิตของอนุภาค Higgs boson เท่ากับ 1.56 × 10-22 นาที (แม้ว่า นี่อาจเป็นค่าความแปรปรวนทางสถิติก็ตาม แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า นี่คือห้วงเวลาที่สั้นมากๆ ของการเกิดขึ้น ของอนุภาคที่เล็กมากๆ).

(2) ชีวิตจักรกล (Mechanical life system) ระบบชีวิต ของเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ ซึ่งต้องอาศัย อุณหภูมิ อากาศ แรงกล แรงดัน ไฟฟ้า แม่เหล็ก เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ เครื่องจักรกล หุ่นยนต์ โปรแกรม. ในอนาคต ชีวิตจักรกล อาจได้รับการพัฒนาถึงขั้น การเชื่อมต่อระบบประสาท ของสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ เข้ากับเครื่อจักรกล ด้วยกระแสไฟฟ้า. ในภาพยนตร์ แนววิทยาศาสตร์ – แฟนตาซี เรื่อง ฅนเหล็ก 2029 (The Terminator – 1984) สร้างและกำกับโดย เจมส์ คาเมรอน (James Cameron) สร้างจากจินตนาการ ซึ่งอ้างอิงจากแนวคิด ชีวิตจักรกล.

[4]
สังขารธรรม (Formative phenomena) เป็นอีกชื่อหนึ่ง ที่ผู้เขียนใช้เรียกแทนคำว่า ธัมมะธาตุ. สังขารธรรม แบ่งออกเป็น 6 ระดับชั้น คือ
(1) วัตถุธาตุ (element | matter) สสาร พลังงาน
(2) พีช (plantea) พืช ปรสิต
(3) สัตว์ (animality | beast) สัตว์โลก (กำเนิดเดรัจฉาน) สัตว์นรก (นรก เปรต) สัตว์สวรรค์ (คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค ยักษ์ ครุฑ อสูร*)
(4) มนุษย์ (human being) ปุถุชน อริยชน
(5) เทพ (God | super human) เทวดา พรหม (เทวดาอายุยาว) และ
(6) ธรรม-อสังขตะ (the unconditioned to appear) วิมุตติ-นิพพาน พระอรหันต์.
*ยักษ์ กับ อสูร จัดอยู่ในกลุ่ม มาร หรือ เทวดาเลว

(3) ชีวิตแบบโลก (Earthly life system) ระบบชีวิต ที่ต้องอาศัยธาตุ ที่เอื้อต่อการมีชีวิต [5] คือ ออกซิเจน น้ำ คาร์บอน และธาตุอื่นๆ. นั่นเป็นความหมาย ชีวิตแบบโลก ที่เรารู้จักกันดี แต่เมื่อมองชีวิตแบบกลไก (Bio-physiological), โลกมนุษย์ (earth) กลายเป็นสิ่งมีชีวิตแบบหนึ่ง ประกอบด้วย ธาตุที่เอื้อต่อการมีชีวิต และ เป็นแหล่งกำเนิด สิ่งมีชีวิต ที่หลากหลาย. ชีวิตแบบโลก มีปัจจัย 3 ประการ เป็นตัวขับเคลื่อน คือ ความต้องการพื้นฐาน ในการบริโภค (need and consumption) เงื่อนไขและการตอบสนอง (condition and respond) และ ความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อม (relative environment).

[5]
ร่างกาย (body) ซึ่งประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นสิ่งมีชีวิต (พืช สัตว์ มนุษย์) พุทธศาสน์เรียกว่า นามรูป เช่น มหาภูตรูป  (ดิน น้ำ ไฟ ลม) เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ (บาลี นิทาน. สํ. 16/51/91.)

การจัดกลุ่มระบบชีวิต ของ มนุษย์-สัตว์-พืช สังคม-วัฒนธรรม-สิ่งแวดล้อม. นักวิทยาศาสตร์ อาศัยการแบ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิต ด้วยลักษณะร่วมกัน จากเกณฑ์กว้างๆ ไปจนถึงเกณฑ์เฉพาะเจาะจง ได้แก่ อาณาจักร (Kingdom) ไฟลัม (Phylum) คลาส (Class) อันดับ (Order) วงศ์ (Family) สกุล (Genus) และ ชนิด (Species).

(4) ชีวิตระบบขันธ์-5 (Khandha : The Group of Five-Existence) เป็นระบบชีวิตของมนุษย์ มุ่งเน้นอธิบาย ความสัมพันธ์และกลไก ระหว่างกายกับจิต (ระบบสรีระ ระบบประสาท ระบบการรับรู้) ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 หน่วย (khanda) คือ รูป (corporeality body) ส่วนที่เป็นร่างกาย และพฤติกรรม, เวทนา (feeling | sensation) ความรู้สึก อารมณ์ สุข ทุกข์, สัญญา (perception) ความจำได้ ในความหมายของสิ่งต่างๆ (จำอดีต), สังขาร (mental formations) ความคิดปรุงแต่งของจิต (คิดอนาคต), วิญญาณ (consciousness) เป็นหน่วยควบคุม รับรู้ การเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการดับสลาย (ธาตุรู้) ของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และตัวของมันเอง.

และเมื่อมองในภาพรวมทั้งหมด ของระบบชีวิตทั้ง 4 กรอบอ้างอิง, ระบบชีวิต ก็คือ กลไก ที่ประกอบด้วย โครงสร้าง 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป หรือกายภาพ (physical) กับส่วนที่เป็นอาการ หรือ ปรากฏการณ์ (make to known designation). จากโครงสร้าง 2 ส่วน ก่อเกิดกลไกชีวิต 2 ประเภท คือ กลไกชีวะ-ฟิสิกส์ และ กลไกชีวะ-ชีวิต.

ตารางที่ 01  โครงสร้าง และประเภท ของกลไกชีวิต

ประเภท / โครงสร้าง รูป | กายภาพ (physical)

นาม | อาการ

กลไกชีวะ-ฟิสิกส์ วัตถุ-สสาร (body-matter) เกิดจาก การหลอมรวมของ อนุภาค อะตอม โมเลกุล เป็นวัตถุ สสาร ชิ้นส่วน อุปกรณ์ กลไก เทคโนโลยี ไฟฟ้า ปรากฏการณ์ (designation)
แรง พลังงาน และคลื่น ในรูปแบบต่างๆ อุณหภูมิ มิติ และ เวลา
กลไกชีวะ-ชีวิต ร่างกาย (corporeality body) หรือ รูปขันธ์ เกิดจาก การหลอมรวมของธาตุต่างๆ เช่น คาร์บอน ออกซิเจน น้ำ (มหาภูตรูป 4 – ดิน น้ำ ลม ไฟ) และ ระบบไฟฟ้า จิตภาพ (psychical)
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

กลไกลชีวิต ให้คำอธิบาย ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งในเอกภพ ทั้งที่เป็น วัตถุ ดวงดาว ธาตุ สสาร พืช สัตว์ มนุษย์. การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ของกลไกชีวิต-ฟิสิกส์ ไม่ใช่ปัญหาสำหรับมนุษย์ เพราะเป็นกฎของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเช่นนั้นเอง. แต่สำหรับ ชีวิตมนุษย์ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นคือปัญหาใหญ่ ที่มนุษย์ไม่ต้องการ.

ทำอย่างไร มนุษย์ จึงจะไม่แก่ และไม่ตาย, มีเพียงบุคคลเดียว ที่ให้คำตอบได้ชัดเจน คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ. พระองค์เกิดมา ก็เพื่อสิ่งนี้ และค้นพบความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ-4) เพื่อบอกวิธีตัดวงจร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยการทำลายกำแพงการ “เกิด” เพราะ ถ้ามีเกิด ก็ต้องมีตาย. พระองค์ค้นพบว่า ตราบใดที่มนุษย์ ไม่ปล่อยวาง ขันธ์-5 วงจรเกิดแก่เจ็บตาย ก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป ยาวนานเท่ากับ ระยะเวลาการเกิดดับของจักรวาล. สิ่งที่พระตถาคต นำมาใช้ทำลายวงจรการเกิด คือ กฏอิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท และ อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค). พระองค์นำมาเชื่อมร้อยกัน ให้เป็นหลักปฏิบัติ เรียกว่า มรรค มีองค์ 8.

สรุป อิทัปปัจยตา เป็นต้นธาตุ-ต้นธรรม ของระบบการเกิด และระบบการตาย. ระบบการเกิด มี 3 แบบ คือ (1) ระบบการเกิดของนามรูป (ขันธ์-5) ได้แก่ สัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เปรตวิสัย, (2) ระบบการเกิดของภูตรูป (ธาตุ สสาร วัตถุ) ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ ธัมมะธาตุที่ 1 (มวล-อนุภาค), 2 (แรง-พลังงาน-คลื่น), 3 (มิติ-กาลอวกาศ-รูปทรง), 4 (อุณหภูมิ), 5 (วัฏจักร-อนันต์), (3) ระบบการเกิดของวิญญาณ – วิมุตติญาณทัสสนะ.

ระบบการตาย สืบเนื่องมาจาก การเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ) การเสื่อมสลาย (วโย ปัญฺญายติ) และเสื่อมต่อเนื่อง (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํปญฺญายติ). สังขารธรรม บางประเภท มีห้วงเวลาของการเสื่อมยาวนาน เช่น การเกิดดับของดาวฤกษ์ ดาราจักร หลุมดำ การสลายของสารที่เกิดจากแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน อายุขัยของพรหมในชั้นสุทธาวาส เป็นต้น. แต่บางประเภท ใช้เวลาสั้น เช่น การเกิดดับของอนุภาคฮิกส์ การเกิดดับของวิญญาณ และ สัตว์ประเภท โอปปาติกะ เป็นต้น. ทุกระบบการเกิด จะต่อเนื่อง หลังจากการตาย ในทันที.

มนุษย์ และ การค้นพบ : ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ ศาสนา

ไม่มีสัตว์ใดในโลก ที่มีภูมิปัญญาเท่ามนุษย์ และก็ไม่มีมนุษย์คนใด จะมีภูมิปัญญาเท่า พระตถาคต. คำกล่าวนี้ ไม่เกินจริง และมิใช่เป็นการเหยียดศาสดาของศาสนาอื่น. ทุกศาสนาในโลก เป็นศาสนาเทวนิยม เงื่อนไขการเกิดการตาย ขึ้นอยู่กับพระเจ้า แต่พุทธศาสนา เป็นศาสนาอเทวนิยม ไม่มีพระเจ้า. เงื่อนไขการเกิดการตาย ขึ้นอยู่กับการปล่อยวาง สิ่งที่ต้นเหตุแห่งการเกิด (ไม่มีการเกิด ก็ไม่มีการตาย). นี่คือการค้นพบอันยิ่งใหญ่ ของพระตถาคต พระองค์ ได้รับการขานพระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจสี่ ซึ่งเป็นความรู้ ความจริง ในปริมาณอันน้อยนิด จากทั้งมวล ที่มีในจักรวาล แต่อัดแน่นด้วยคุณค่า ที่ไม่สามารถหาสิ่งเปรียบเทียบได้.

  • พุทธวจน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำใบไม้สีสปา ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่งแล้ว ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร ใบไม้สีสปาที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก หรือว่าใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมาก.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็นของน้อย ส่วนใบไม้ที่ยังอยู่บนต้นสีสปาเหล่านั้นย่อมมีมาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วนที่นำมากล่าวสอน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่าเราจึงไม่กล่าวสอนธรรมะส่วนนั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้นๆ ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด.

(อะไรคือใบไม้ในป่า อะไรคือใบไม้ในกำมือ – บาลี มหาวาร. สํ. 19/548/1712.)

แต่ในเอกภพนี้ มีสิ่งลี้ลับซ่อนอยู่มากมาย ที่มนุษย์ทั่วไปไม่รู้, นักปราชย์ยังค้นหาไม่พบ และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังพิสูจน์ไม่ได้. แต่การ “ตรัสรู้” ของพระตถาคต เปิดเผยให้เห็นความจริงแท้ ทุกซอกมุมในเอกภพ. พลังการหยั่งรู้ของพระองค์ เป็นสิ่งลึกซึ้ง เป็นความรู้ยิ่ง ดังที่พระองค์ตรัสแก่ภิกษุสาวก เรื่องบริษัทสองจำพวกไว้ว่า “ … ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต; คมฺภีรา – อันลึกซึ้ง, คมฺภีรตฺถา – มีอรรถอันลึกซึ้ง,  โลกุตฺตรา – เป็นโลกุตตระ, สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา – ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา … ”. [6]  แท้จริง พระองค์ไม่ได้เก็บสิ่งที่ตรัสรู้ทั้งหมด ไว้ในหน่วยความจำ แต่พระองค์ใช้กระบวนการหยั่งรู้ เข้าถึงความจริงทั้งหลาย ที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ นำมาใช้อธิบาย และเมื่อหมดวาระแล้ว พระองค์ก็ปล่อยวาง และถอยออกมา. อาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่พระตถาคตหยั่งรู้ได้นั้น เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า พลังงานมืด (dark energy) ก็ได้.

[6]
อริยสัจจากพระโอษฐ์ 1.  [โปรแกรมคอมพิวเตอร์].  โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียง พุทธวจนจากพระไตรปิฎก – E-Tipitaka v3.0.6 หน้า 505–506.

พลังการหยั่งรู้ (ตรัสรู้) ของพระตถาคต 

• มีความคมชัด ยิ่งกว่าลำแสงเลเซอร์ ที่นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้น
• มีพลังยิ่งกว่ารังสีเอ็กซ์ ที่พวยพุ่งออกจากพัลซาร์ หรือศูนย์กลาง   ของหลุมดำ
• มีทัศนะแล่นไปในเอกภพ ได้ไกลยิ่งกว่าแสง
• มีความเล็กละเอียด ยิ่งกว่าอนุภาคใดๆ สามารถชอนไชไปได้ทั่ว
   ทุกอณูในจักรวาล
• มีความสะอาดและว่างเปล่า ยิ่งกว่าสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า สสารมืด

ความสะอาดและว่างเปล่านั้น เสมือน “หน่วยความจำ” ที่มีปริมาตรความจุมากมายมหาศาล.

สิ่งที่พระตถาคตตรัสรู้ และนำมาเปิดเผย มีเพียงน้อยนิดก็จริง แต่มีประโยชน์คุณค่ามหาศาล. สิ่งที่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ กำลังค้นหา สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังทดลอง สิ่งที่สถาปนิกกำลังคิดสร้าง กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่นักปกครองกำหนดขึ้น รวมทั้งสิ่งที่นักปราชญ์ ศิลปิน กำลังประดิษฐ์คิดสรรสร้าง ทั้งหลายเหล่านี้ ส่วนมาก พระตถาคตก็ยังเห็นว่า …ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด. นี่คือเหตุผลว่า เพราะเหตุใด คำสอนของพระองค์ จึงมีคุณค่ายิ่งกว่าศาสตร์ใดๆ ที่มนุษย์ในโลกนี้ เรียนรู้มาจากสำนักต่างๆ. ความรู้ ที่ไม่สามารถ แก้ปัญหาการเกิดของมนุษย์ ได้ (ถ้าไม่เกิด ก็ไม่ต้องเจ็บ ไม่แก่ และไม่ตาย) เป็นความรู้ที่ไร้ประโยชน์. ความรู้ ที่มุ่ง แก้ปัญหาการตายของมนุษย์ (มีสิ่งสิ่งหนึ่ง บันดาลให้ ไม่เจ็บ ไม่แก่ และไม่ตาย) นอกจากไร้ประโยชน์แล้ว ยังให้โทษทุกข์ยิ่งกว่า, พระตถาคต เรียกว่า “มิจฉาทิฏฐิ” และ “เดรัจฉานวิชา”.

ความรู้ที่ประกอบด้วยประโยชน์ จะเป็นแผนที่นำทาง ให้แก่ผู้เรียนรู้ ปล่อยวางขันธ์-5 สลายอัตตา ก้าวไปสู่ อมตะ คือนิพพาน. การเรียนรู้ เพื่อเข้าถึงนิพพาน เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง แต่ก็เป็นเรื่องยาก สำหรับคนยุคนี้ เพราะมี มิจฉาทิฏฐิ และเดรัจฉานวิชา เป็นอุปสรรคขวางกั้นอยู่. มิจฉาทิฏฐิ และเดรัจฉานวิชา ก็คือสิ่งลี้ลับ ที่มนุษย์พยายามจะเข้าถึงมันให้ได้.

มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับ สิ่งลี้ลับเหล่านั้น (ถ้ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับมัน จะเรียกมันว่า สิ่งลี้ลับได้อย่างไรกัน). มนุษย์เสียเวลากับการสืบค้น พิสูจน์ ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ยาวนานเท่าๆ กับ วิวัฒนาการของมนุษยชาติ เลยทีเดียว.

สิ่งลี้ลับ (dark matter) หมายถึง สิ่งที่อยู่นอกเหนือ การรับรู้ของประสาทสัมผัสมนุษย์ (ตา-รูป หู-เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส ผิวกาย-รู้สึกสัมผัส ใจ-ธรรมะ). นักวิทยาศาสตร์ สามารถเข้าถึงสิ่งลี้ลับเหล่านั้นได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยี ร่วมกับ จินตนาการ. ทำให้สิ่งลี้ลับ ที่ถูกค้นพบ พิสูจน์ และยืนยันแล้ว ก็ไม่ใช่สิ่งลี้ลับอีกต่อไป. ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ เกี่ยวกับ จิต วิญญาณ ได้บ้างแล้ว เช่น การระลึกชาติ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร. เอกภพ และ นิพพาน ยังคงเป็นสิ่งลี้ลับ สำหรับโลกวิทยาศาสตร์ต่อไป

การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ การพิสูจน์การมีอยู่ ของวัตถุธาตุ (มหาภูตรูป-4) รวมถึงคุณสมบัติและอาการของมัน ได้แก่ มวล-อนุภาค, แรง-พลังงาน-คลื่น, มิติ-กาลอวกาศ-รูปทรง, อุณหภูมิ, และ วัฏจักร-อนันต์ (บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติพื้นฐาน ของธัมมะธาตุ) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม รูปธาตุ และรวมถึงการพิสูจน์การมีอยู่ ของสังขารธรรม ระดับ วัตถุธาตุ พืช สัตว์. การค้นพบทางพุทธศาสน์ คือ การพิสูจน์การมีอยู่ (การเกิด การเสื่อม การดับสลาย) ของ รูปนาม-วิญญาณ-สังขาร และการพิสูจน์การมีอยู่ของ วิมุตติ-นิพพาน (บทที่ 4 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ).

แท้จริงแล้ว สรรพสิ่งในเอกภพ มาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน มีการดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปลง และการดับสลาย ภายใต้ มิติ กาลอวกาศ (บทที่ 3 มิติและกาลอวกาศ). และ กฎพื้นฐานที่สุด ของธรรมชาติ (บทที่ 5) จะเป็นสิ่งชี้วัด การเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และการดับสลาย ของปรากฏการณ์ต่างๆ ของธัมมะธาตุทั้งมวล แล้วหลอมรวมกันเป็นสรรพสิ่งหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง.

คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ เป็นทฤษฎีเดียว ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ได้อย่างสัมบูรณ์. กล่าวได้ว่า หลักธัมมะธาตุ 7 จะเป็นจุดเชื่อมระหว่าง วิทยาการฝั่งวิทยาศาสตร์ (ความจริงสมมุติ) กับวิทยาการฝั่งพุทธศาสน์ (ความจริงสมมุติ สู่ความจริงแท้).

ประเด็น ถาม-ตอบ ท้ายบท

1.
ธัมมะธาตุ 7 หรือ คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ ในเอกภพนี้ ท่านคิดว่า สามารถนำมายุบรวมกัน ให้น้อยกว่า 7 ข้อ ได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด?

2.
นักวิทยาศาสตร์ พยายาม รวมแรงในธรรมชาติทั้งหมดที่ค้นพบ (แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน และ แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม) ให้อยู่ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน เพื่อต้องการทราบค้นหาที่มาของการกำเนิดของจักรวาล แต่ยังไม่สามารถทำได้ อาจเป็นเพราะว่า นั่นคือเป็นความพยายาม ที่มีข้อจำกัดในทางฟิสิกส์ แต่ถ้า รวมเอาปรากฏการณ์ ทางด้านจิตวิญญาณ เข้าไปเชื่อมโยงด้วย อาจพอมีทางเป็นไปได้ นั่นคือ หลักธัมมะธาตุ 7 อาจได้คำตอบ ที่นักวิทยาศาสตร์พอใจ ในระดับหนึ่ง ท่านเห็นด้วยหรือไม่?

อ่าน [บทนำ] – [บทที่ 1] – [บทที่ 2] – [บทที่ 3] – [บทที่ 4] – [บทที่ 5] – [บทที่ 6] – [แสดงความคิดเห็น]

Fascinated Post Date: 20 กุมภาพันธ์ 2561
รวมเรื่องราวดีๆ รอคุณอยู่ ที่ ชุมชน คนคิดดี / บทความ หนังสือ ร้อยกรอง เพลง