ร่วมแสดงความคิดเห็น ธัมมะธาตุ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง

บทความ / ตำราวิชาการ :
ทฤษฏีเดียว อธิบาย ทุกสรรพสิ่ง The Theory explain Everything.

ธัมมะธาตุ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง
ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์
The 7-Absolute of Everything

โดย สู่ดิน ชาวหินฟ้า – igoodmedia.net (2018)
Last edit. 20 February 2018

กลับไป [บทนำ] – [บทที่ 1] – [บทที่ 2] – [บทที่ 3] – [บทที่ 4] – [บทที่ 5] – [บทที่ 6] – [แสดงความคิดเห็น]
บทความนี้ ทำหน้าที่เชื่อมองค์ความรู้ระหว่าง วิทยาศาสาตร์ (physical sciences) กับพุทธศาสนา โดยอธิบายถึง คุณสมบัติและอาการ ของสรรพสิ่งในจักรวาล ซึ่งมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน และเสื่อมสลายไปสู่แหล่งเดียวกันอย่างไร.
วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา ปัจจัยการเกิด การดำรงอยู่ และการดับสลาย ของสังขารธรรมทั้งหลาย (ปรากฏการณ์ ปรัชญา กาลเวลา สรรพสิ่ง) ซึ่งเป็นต้นกำเนิด ของศาสตร์ทุกแขนง. (2) เพื่อเสนอแนวคิดว่า สิ่งลี้ลับในเอกภพ ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถค้นพบได้นั้น มีอยู่จริง โดยเทียบกับสิ่งที่ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้. (3) เพื่อศึกษาว่า คุณสมบัติและอาการ ของวัตถุธาตุต่างๆ ตลอดจน สิ่งมีชีวิต เข้ากันได้กับ คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ หรือไม่ อย่างไร.

คุณสมบัติและอาการ 7 ประการ ของธัมมะธาตุ
(1) มวล–อนุภาค (mass–particle)
(2) แรง–พลังงาน–คลื่น (force–energy–wave)
(3) มิติ–กาลอวกาศ–รูปทรง (dimension–spacetime–form)
(4) อุณหภูมิ (temperature)
(5) วัฏจักร–อนันต์ (cycle–infinity)
(6) นามรูป–วิญญาณ–สังขาร (mind and matter–consciousness–corporeality)
(7) วิมุตติ–นิพพาน (integrity liberation | Nibbana).

ร่วมแสดงความคิดเห็น ที่นี่

ความเห็นล่าสุด อยูล่างสุด

กลับไป [บทนำ] – [บทที่ 1] – [บทที่ 2] – [บทที่ 3] – [บทที่ 4] – [บทที่ 5] – [บทที่ 6] – [แสดงความคิดเห็น]

3 comments on «ร่วมแสดงความคิดเห็น ธัมมะธาตุ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง»

  1. เรียน ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ ทุกท่าน ตลอดจน มิตรสหาย และผู้มีอุปการะคุณ ทุกท่าน

    ข้าพเจ้า นายสู่ดิน ชาวหินฟ้า, ไม่มีตำแหน่งวิชาการ แต่วางตัวเองเป็น นักวิชาการด้านพุทธศาสน์ (Academic Buddhist) และ ศิลปินด้านวรรณกรรม (Literary Artist), ได้เริ่มต้น เขียนบทความ และตำราทางวิชาการ เล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่แนวคิดและทฤษฎี ที่ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นการนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งต่อด้านวิทยาศาสตร์และด้านพุทธศาสน์. ข้าพเจ้า ได้นำข้อความทั้งหมดของบทความ / ตำรา ทยอยออกเผยแพร่ ตามที่เรียบเรียงเสร็จ คราวละบท โดยไม่รอให้เสร็จทั้งเล่ม เพราะถ้าให้เสร็จทั้งเล่ม อาจใช้เวลานานกว่านี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ท่านได้มีเวลาพิจารณา ในการให้คำแนะนำ วิพากษ์ วิจารณ์.

    หวังว่า คงได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน ทั้งหลาย ที่จะให้คำแนะนำ คำวิพากษ์ วิจารณ์ และแสดงความเห็นได้โดยอิสระ ผ่านแบบตอบกระทู้ (comment) ซึ่งอยู่ด้านล่างของบทความ. ทั้งนี้ ไม่ได้จำกัดเวลา เนื้อหา ความยาว แต่อย่างใด.

    ขอกราบขอบพระคุณ ขอขอบคุณ ล่วงหน้า ที่ท่านเมตตา เสียสละเวลา ในการอ่านพิจารณา และให้ความเห็น.

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

    อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า
    20 กุมภาพันธ์ 2561

  2. ข้อมูลพื้นฐาน ของบทความ / ตำรา

    ชื่อ ภาษาไทย
    ธัมมะธาตุ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง : ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์

    ชื่อ ภาษาอังกฤษ
    The 7-Element Absolute of Everything

    เริ่มเขียนเมื่อ
    ปี พ.ศ.2557 และปรับปรุงแก้ไขมาเรื่อยๆ

    ประเภท
    บทความ / ตำราวิชาการ

    โครงสร้างเนื้อหา
    เผยแพร่แล้ว บทนำ, และ บทที่ 1

    บทนำ สรรพสิ่งในเอกภพ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน (The Theory explain Everything Life)
    -สสาร วิญญาณ กาลอวกาศ
    -กลไกชีวิต (Bio-mechanics | Bio-Physiological)
    -มนุษย์ และ การค้นพบ : ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ ศาสนา

    บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์
    (1) พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
    (2) สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
    (3) ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

    บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติพื้นฐาน ของธัมมะธาตุ (Nature attributes of Element–Matter)
    (1) มวล–อนุภาค (mass–particle)
    (2) แรง–พลังงาน–คลื่น (force–energy–wave)
    (3) มิติ–กาลอวกาศ–รูปทรง (dimension–spacetime–form)
    (4) อุณหภูมิ (temperature)
    (5) วัฎจักร–อนันต์ (cycle–infinity)
    (6) นามรูป–วิญญาณ–สังขาร (mind and matter–conciousness–corporeality)
    (7) วิมุตติ–นิพพาน (integrity liberation | Nibāna)

    บทที่ 3 มิติ และ กาลอวกาศ (dimension and spacetime)
    (1) ความเข้าใจเรื่อง มิติ
    (2) ความเข้าใจเรื่อง กาลอวกาศ

    บทที่ 4 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ (Physical of Consciousness)
    (1) ขันธ์-5 และ สังขารธรรม-6
    (2) ลักษณะสมบัติ และบทบาท ของจิตวิญญาณ
    (3) วิญญาณ สัตตา และ วิมุตติญาณทัสสนะ

    บทที่ 5 กฏพื้นฐานที่สุด ของธรรมชาติ (The Basic of Absolute Rule)
    (1) ความจริงสัมบูรณ์ 4 ประการ ของ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ (The 4-Truth of Lord Buddha)
    (2) กฎของเวลา (Rule of Time)
    (3) กฎแห่งนิรันดร์ (The Forever-Never Rule)
    (4) กฎสมดุล (Rule of Balance)
    (5) กฎสัมพัทธภาพ-ความโน้มถ่วง (Relativity-Gravitation Rule)
    (6) กฎอนุรักษ์ (conservation law)
    (7) มาตรวัดสัมบูรณ์ 4 กรอบอ้างอิง (4-Space Reference Frame)

    บทที่ 6 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ ของสรรพสิ่ง (บทสรุป)
    (1) สิ่งใดๆ ที่เกิดปรากฏแล้ว ล้วนเป็นสมมุติสัจจะ. สิ่งสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ปรากฏการเกิด ไม่ปรากฏการเสื่อม และไม่แปรปรวน สิ่งสิ่งนั้น เป็นปรมัตสัจจะ.
    (2) ธัมมะธาตุ 7 : ผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อ พุทธศาสน์-วิทยาศาสตร์
    (3) นิเทศศาสตร์ นวัตกรรม (Innovation communication)

  3. บรรณานุกรม – Reference

    (ก) หนังสือ

    ธอร์น, คิป เอส. (2554). ประวัติย่อของหลุมดำ. Black Holes & Time Warps. แปลโดย ดนัย วิโรจน์อุไรเรือง, รศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.

    ฮอว์กิ้ง, สตีเฟน. (2554). ประวัติย่อของกาลเวลา ฉบับภาพประกอบ. แปลโดย ปิยบุตร บุรีคำ,ดร. และ อรรถกฤต ฉัตรภูติ,ดร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

    Landau, L. D.; Lifshitz, E. M. (1960). Mechanics. Pergamon Press.

    (ข) หนังสือดิจิตัล โปรแกรมคอมพิวเตอร์

    พุทธวจนสถาบัน. (2555-2560). พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 1 – 16. ปทุมธานี: มูลนิธิพุทธโฆษณ์. [เอกสารดิจิตัล]. แหล่งดาวน์โหลด http://watnapp.com/book

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. [เอกสารดิจิตัล]. แหล่งดาวน์โหลด http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/dictionary_of_buddhism_pra-muan-dhaama.pdf

    สุธี สุดประเสริฐ. (2010). โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียง พุทธวจนจากพระไตรปิฎก (E-Tipitaka v.3.0.6). [โปรแกรมคอมพิวเตอร์]. แหล่งดาวโหลด http://etipitaka.com-#download

    (ค) เว็บไซต์

    เครือข่ายพุทธวจน วัดนาป่าพง ปทุมธานี [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://www.watnapp.comhttp://www.buddha-net.com

    มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ปทุมธานี [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://www.buddhakos.org

    ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://media.watnapahpong.org

    สุธี สุดประเสริฐ. (2010). โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียง พุทธวจนจากพระไตรปิฎก (E-Tipitaka v.3.0.6). [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://www.etipitaka.com/search/ สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561.

    (ค) วิดีโอ

    Rob Bryanton. (2012). Imagining the Tenth Dimension a new way of thinking about time and space. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=gg85IH3vghA&list=TLDe3jqnxtzS8

    Gavin Wince. (2014). The Evolution of Time and the Carnot Cycle at the Edge of the Universe. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=V7bbYNCdqak

    King Crocoduck. (2015). Quantum Theory Made Easy. [online]. source part-I https://www.youtube.com/watch?v=e5_V78SWGF0. source part-II https://www.youtube.com/watch?v=FlIrgE5T_g0

    ScienceNET. (2014). Dark Matter and Dark Energy. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=p1KdGItgPhg

    10thdim. (2012). Imagining the “Zeroth” Dimension. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=emlcwyvnsg0

    10thdim. (2012). Imagining the First Dimension. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=MV47Mcmo25I

    Tech & Myths. (2017). 10th Dimension | parallel universe theory | string theory | 4th dimension. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=_cnDlSyLy8I

    Eugene Khutoryansky. (2012). Drawing the 4th, 5th, 6th, and 7th dimension. [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=Q_B5GpsbSQw

    Zutopedia.com by udiprod. (2017). Visualization of Quantum Physics (Quantum Mechanics). [online]. source https://www.youtube.com/watch?v=p7bzE1E5PMY. webpage http://www.zutopedia.com/quantum_physics.html

Leave a Reply to SUDIN CHAOHINFA - igoodmedia.net Cancel reply

Your email address will not be published. *
You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>